ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว
ป้อนข้อมูลท่องเที่ยว
แม่วงก์ ด้วยรัก และห่วงใย (ตอนที่ 2/2)
ปลายฝน ต้นหนาว ท่ามกลางข่าวสาร ป่าเสื่อมโทรม
เป้ใบ รองเท้าคู่ รีวิว

เป็นตอนต่อจาก แม่วงก์ ด้วยรัก และห่วงใย (ตอนที่ 1/2) ติดตามได้เลยครับ

จากเส้นทางขึ้น จุดชมวิว ภูสวรรค์ มองไปเราจะเห็น ป่าเขาตะวันตก ของประเทศเรา สุดลูกตา คือ เทือกเขาตะนาวศรี ที่ยาวเหยียดจากเหนือลงใต้ ป่าใหญ่ ผืนสุดท้ายที่ยังคงอยู่

ใกล้ค่ำมากแล้ว นักท่องเที่ยว ขึ้นมาที่ ช่องเย็น เพื่อกางเต้นท์พักแรมกันเต็มลาน ในขณะที่เรากำลังจะ ย้อนลงไปพัก ที่บ้านพัก ตรงที่ทำการอุทยาน

ครั้งแรก ผมได้จองที่พัก ช่องเย็น แต่กิตติศัพท์ เรื่อง ตัวคุ่น (แมลงชนิดหนึ่ง) ทำให้กลัวเกินนนน เลยเปลี่ยนใจ ลงไปพักข้างล่างดีกว่า หลังจากกลับมา ปรากฏว่า น้องคุ่น ได้ฝากตุ่มมา 2 ตุ่ม คันดีพิลึก

และไหน ๆ เราก็มาถึง แม่วงก์ แล้ว จะไม่ฟังเรื่องราวของแม่วงก์ ผ่านคนที่ดูแลแม่วงก์ ก็จะยังไง ๆ อยู่

พี่ ๆ เจ้าหน้าที่อุทยานแม่วงก์ ได้กรุณา มาพูดคุย เรื่องแม่วงก์ ในแง่มุมของคนทำงาน ให้เราฟัง มีเรื่อง ฮา ฮา มากมาย

และหัวโต๊ะ จะเป็นใครไปไม่ได้ เจ้าของบ้าน พี่หัวหน้าอุทยานแม่วงก์ ได้มาคุยกับเราอย่างกันเอง

ท่าทางถ้าไม่ติดว่า ต้องไปต้อนรับเพื่อน ๆ ของพี่เขา เราคงจะคุยกันถึงเช้าแน่ ๆ

กว่าจะได้นอนเมื่อคืน ดึกเอาเรื่องเหมือนกันครับ นอนฟังเสียงน้ำในลำธาร หลังที่พัก หลับไปตอนไหน ไม่รู้ตัวเลย

แต่ก็รีบตื่นแต่เช้า เพื่อมากินน้ำค้าง จะได้เสียงหวานอย่างจิ้งหรีดบ้าง .. ผมนอนบ้านหลังขวามือ สวยไหมครับ

ทริปนี้ มีแค่ 2 หนุ่ม เราก็เลยต้องไปนอน ที่ กระท่อมน้อย ริมธาร สาว ๆ ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ พักที่บ้านหลังใหญ่ 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้ 8 คน

หากเพื่อน ๆ สนใจจะมาพักบ้าง จองผ่านเน็ตได้เลยครับ ที่เว็บกรมอุทยาน ค้นดูได้ครับ

อีกมุมหนึ่ง ของบ้านพักอุทยาน .. สำหรับ คนที่ชอบธรรมชาติ แต่ขอที่นอนนุ่ม ๆ มีน้ำอุ่นอาบ

ที่นี่ไม่มีแอร์ คงอยากให้เพื่อน ๆ ได้สูด อากาศบริสุทธิ์ จากธรรมชาติ และนอนฟังเสียงน้ำไหล ผ่านโขดหิน ในลำธาร หลังบ้านพักครับ

หรือถ้าชอบนอนเต็นท์ ก็สะดวกดีนะครับ .. ลานกางเต้นท์ อยู่หน้าที่ทำการอุทยาน ไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย มีไฟฟ้าเปิดตลอดคืน ห้องน้ำสะอาด จะเอาเต็นท์มาเอง หรือจะเช่าเต็นท์ของอุทยานก็ได้ (เจ้าหน้าที่อุทยานกางให้เรียบร้อย อย่างในรูปเลยครับ)

ช่วงที่ผมไป มีครอบครัวหนึ่ง พ่อ แม่ ลูก (น่าจะประมาณ 5-6 ขวบ) มาพักเต็นท์ ผมถามว่าบ่อยหรือเปล่า เขาบอกว่า มาเกือบทุกอาทิตย์ เพราะมาทำงานที่นครสวรรค์นี่เอง

ร้านอาหารสวัสดิการ อยู่ใกล้ ๆ ลานกางเต้นท์ พอดี ฝนลงพรำ ๆ พวกเราเลยอด ออกมานั่ง ชมนกชมไม้ ด้านนอกกันครับ

ผมเองเวลาไปเที่ยวแนวนี้ มักจะใช้บริการ จากพื้นที่ ด้านหนึ่งก็คือ ไม่ต้องเสียเวลากับการจัดการเรื่องกินมากนัก อีกด้านหนึ่ง เป็นการกระจายรายได้ ให้กับคนในพื้นที่ด้วยครับ

สำหรับที่แม่วงก์ (ตรงที่ทำการอุทยาน) เพื่อน ๆ สามารถใช้บริการร้านอาหารนี้ได้ ตั้งแต่เช้าถึงเย็น แต่ถ้าไปกันหลายคน อย่างพวกผม ไปกัน 10 คน ผมก็จะโทรไปจองล่วงหน้าไว้ก่อน ทางร้านเขาจะคิดเป็นรายหัว (น่าจะเป็นนโยบายของอุทยาน เพราะไปหลาย ๆ ที่ก็จะคิดในอัตราเดียวกันนี้)

อาหารเย็นก็จะมีกับข้าว 3-4 อย่าง เขาจะถามว่าอยากกินอะไร จะทำให้ แต่ผมก็จะบอกว่า เอาเป็นแบบที่ร้านสะดวกดีกว่า แต่ขอเป็นพวกวัตถุดิบที่หาได้จากแถว ๆ นั้น เช่น เห็ดโคน 5555

ส่วนอาหารเช้า ก็ตามสูตร คือ กาแฟ + ข้าวต้มหมู ซึ่งเพื่อน ๆ บ่นว่า หมูเยอะเกิ๊นนนนน ... เป็นซะอย่างนั้น

หลังอาหารเช้า กาแฟ + ข้าวต้มหมู แล้ว ... เรามี โปรแกรมเดินป่า บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทางสั้น ๆ แค่ 2 กิโลกว่า ๆ เป็นเส้นทางที่ลัดเลาะ ไปตามไหล่เขาเล็ก ๆ ใกล้ ๆ ที่ทำการอุทยาน นั่นเองครับ

ระหว่างการเดิน บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ .. พี่เจ้าหน้าที่อุทยาน ก็จะชี้ให้ดูโน่น นี่ นั่น พร้อมกับอธิบาย เรื่องราว ของป่า ให้เราฟัง ตลอดเวลา

เราเดินผ่าน ป่าเบญจพรรณ ที่กำลังฟื้นตัว จากการทำลายป่าในช่วงที่ผ่านมา หากเราไม่ซ้ำเติม ป่าจะค่อย ๆ กลับมาอีกครั้ง ผ่านกระบวนการทางธรรมชาติ อันสลับซับซ้อน

เส้นทาง ขึ้น ๆ ลง ๆ เดินไม่ลำบากนัก แต่เนื่องจาก เมื่อเช้า ก่อนที่เราจะมาเดิน มีฝนลงมาเล็กน้อย ดินเปียกน้ำสักหน่อย พอให้ลื่น ๆ เราก็เลยต้องเดินกันอย่างระมัดระวัง ไม่อย่างนั้น อาจจะจับกบ กันได้โดยไม่ตั้งใจ

เราเจอ รอยเท้ากวาง ขนาดใหญ่ ที่เพิ่งเดินผ่านไป ก่อนหน้าเราจะมา เพียงแป๊บเดียว

ลำธารเล็ก ๆ ที่เราต้องข้าม ระหว่างการเดินป่า ... มีป่า ก็มีน้ำ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มาสิ้นสุดลง ที่ แก่งผานางคอย .. ตำนาน รักแสนเศร้า ของหนุ่มสาว .. แต่วันนี้ มี 3 สาว มานั่งพัก เพราะหมดแรงจากการเดินป่า

พักพอหายเหนื่อย กันแล้ว เราก็เดินต่อ กลับไปยังที่พัก ... และเดินทางกลับ กทม

ขับรถในอุทยาน อย่าขับเร็วครับ วันเดินทางกลับ มี ไก่ป่า เดินผ่านหน้ารถเรา 1 ตัว แล้วก็ หมาใน อีก 1 ตัว

หลายอย่างที่เราเจอที่ แม่วงก์ ... น้องคุ่น ที่ฝากตุ่มไว้บนแขน 2 ตุ่ม ... น้องทาก ที่โดดเกาะเราหลายตัว ... ลำธาร น้ำใส ไหลเย็น ชุ่มฉ่ำ ๆ ... ป่าไม้เขียวชอุ่มสุดลูกตา ... บราาาา บราาาา อีกมากมาย

ถ้าจะใช้คำที่ หะ-หรู-หะ-หรา หน่อยนึง เราก็คงจะพูดได้ว่า ที่นี่ ยังคงมี ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ ในมุมของวิชาการเป็นยังไง เราก็ไม่รู้ แต่เราในความรู้สึกนึกคิดของพวกเราที่ไป 10 ชีวิต เราสรุปตรงกัน ว่า ที่นี่สมบูรณ์มาก

สิ่งที่เราทำได้ ณ วันนี้ คือ เราขอตะโกนดัง ๆ ว่า ... แม่วงก์ เรารัก และห่วงใย เธอมากกกกกก

จบแล้วครับ


แม่วงก์ ด้วยรัก และห่วงใย (ตอนที่ 1/2) คลิก คลิก


รีวิวอื่น ๆ ของ เป้ใบ รองเท้าคู่

Booking.com

หน้าแรก | ท่องเที่ยวใน กทม. | ท่องเที่ยวในภาคเหนือ | ท่องเที่ยวในภาคกลาง | ท่องเที่ยวในภาคอีสาน | ท่องเที่ยวในภาคตะวันออก | ท่องเที่ยวในภาคใต้ | ลงโฆษณา | ติดต่อเรา

อ่างขาง ปากน้ำประแส ระยอง เชียงคาน ปาย แม่ฮ่องสอน โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ ชุมพร ปางอุ๋ง ชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร ที่พักมีจักรยานให้ยืม หมู่บ้านเซรามิคเกาะคา ลำปาง ทุเรียนศรีสะเกษ ปฏิทินท่องเที่ยวชุมชน ล่องแก่งหนานมดแดง พัทลุง พรหมโลก นครศรีธรรมราช ทะเลน้อย ปากประ พัทลุง ล่องแก่ง ล่องเรือ พายเรือ