ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว
ป้อนข้อมูลท่องเที่ยว
บ้านศรีนาป่าน น่าน

ที่ตั้ง : บ้านศรีป่าน ต.เรือง อ.เมืองน่าน จ.น่าน

พิกัด : 18.785763, 100.660398

ติดต่อ

  • กลุ่มท่องเที่ยวบ้านศรีนาป่าน – ตาแวน
  • นายเรืองเดช คำพิมพ์ : นายก อบต. 080 123 4980
  • นายศิริพงษ์ หาญฤทธิ์ : รองนายก อบต. 080 127 4077
  • นางเฉลียว สมจิตต์ : ประธานสภาตำบลฯ 084 – 739 9083
  • นายวิชัย อินทำ 083 – 209 038

จุดเด่น : แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไร่ชาพันธ์อัสสัมจากอินเดีย มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมห้วยหลวง น้ำตกดอยหมอก ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเรือง

ประวัติชุมชน : หมู่บ้านศรีนาป่าน-ตาแวน ตั้งอยู่ติดเทือกเขาที่กั้นเขตแดนจังหวัดน่าน กับจังหวัดพะเยา ศรีนาป่านเป็นหมู่ที่ 1 ของตำบลเรือง อำเภอเมือง ส่วนบ้านตาแวนเพิ่งแยกหมู่บ้านทีหลัง เป็นหมู่ที่ 4 อยู่ในตำบลเดียวกัน หมู่บ้านทั้งสองอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร

ตามหลักฐานที่บันทึกจากพ่ออุ้ยหนานอโนชัย วงศ์ราช ชาวบ้านตาแวนซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ. 2477 เล่าว่า บรรพบุรุษของคนในหมู่บ้านอพยพมาจากแถบสิบสองปันนา สิบสองจุไท จากประเทศจีน หนีศึก หนีคมหอกคมดาบมา แล้วมาตั้งรกรากอยู่ที่ป๋างไท (ปัจจุบันเป็นจุดเรียนรู้หนึ่งในเส้นทางเดินชมระบบนเวศน์ “ห้วยหลวง”)

เมื่ออยู่ที่นี่ได้เป็นกำลังพลในการผลิตอาวุธ (หอก ดาบ) ส่งให้พระเจ้าทองทิพย์เพื่อใช้ในการรบกับข้าศึก วัดที่ศรีนาป่าน-ตาแวน ตั้งแต่สมัยก่อนมาถึงปัจจุบันมีอยู่ 4 วัด ซึ่งเป็นวัดห่าง 3 วัด (วัดกองหิน วัดห้วยแล้ง วัดพระเจ้าทองทิพย์) วัดปัจจุบัน 1 วัด (วัดศรีนาป่าน)

คนในบ้านศรีนาป่านตาแวน มีความเชื่อ และนับถือเจ้าหลวงป่าเมี่ยงมาก ดังนั้นในบริเวณป่า หรือบริเวณที่เป็นสถานที่เป็นหอเจ้าหลวง จะไม่มีใครกล้าเข้าไปทำผิด หรือลบหลู่ โดยข้อควรปฏิบัติของชุมชนเวลาเข้าไปเดินป่า คือ ต้องนมัสการพระพุทธรูป และบอกกล่าว ขอพรจากเจ้าหลวงป่าเมี่ยงก่อน ไม่พูดในสิ่งที่ไม่ควรพูด เวลาเดินป่าไม่ให้เดินออกนอกเส้นทางที่กำหนดไว้

นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น การเซ่นไหว้เจ้าหลวงป่าเมี่ยง พิธีกรรมหล่อเมี่ยง การเลี้ยงผีขุนน้ำ การแก้มข้าวใหม่ การสะเดาะเคราะห์ การสักการะพระเจ้าทองทิพย์ และสืบทอดบริวารเจ้าหลวงป่าเมี่ยง

กิจกรรมท่องเที่ยว

  • เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เก็บยอดชายามเช้าบนดอยหลวง เที่ยวน้ำตกดอยหมอก ชมเต่าปูลู
  • ชมกระบวนการผลิตชา (เมี่ยง) ตั้งแต่การเก็บจนถึงการหมัก
  • ชมการแปรรูปอาหารจากยอดเมี่ยง
  • ร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ ชมการแสดงฟ้อนรำและสะล้อซอซึง
  • พักโฮมสเตย์

โปรแกรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านศรีนาป่าน - ตาแวน : การถ่ายทอดหลักสูตรของทางศูนย์เรือง ได้ใช้การลงศึกษาในพื้นที่จริง โดยอาศัยจุดเรียนรู้ 13 จุด ตลอดระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ของป่าห้วยหลวง เป็นตัวบอกเล่าเรื่องราวต่างที่เกิดขึ้นในชุมชน

  • จุดเรียนรู้ที่ 1 ไหว้พระพุทธรูป ซึ่งอยู่บริเวณลานจอดรถ
  • จุดเรียนรู้ที่ 2 ขอพรเจ้าหลวงป่าเมี่ยง อยู่บริเวณลานจอดรถ
  • จุดเรียนรู้ที่ 3 ป่าสวนเมี่ยง จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเมี่ยง การดูแลรักษาต้นเมี่ยง ตลอดจนถึงวิธีการเก็บยอดเมี่ยงมาแปรรูปชา และการเก็บใบเมี่ยงมาทำเป็นเมี่ยงอม
  • จุดเรียนรู้ที่ 4 ต้นไฮ ซึ่งเป็นที่มาของตำนานปางบุญปางบาป การแบ่งเขตแดนสวนเมี่ยง สมุนไพร
  • จุดเรียนรู้ที่ 5 ห้วยน้ำดัง ซึ่งใช้เป็นจุดสำหรับทำน้ำประปาของหมู่บ้าน
  • จุดเรียนรู้ที่ 6 ต้นยางใหญ่ กับสมุนไพร (ตะขาบหรือม้าหลังเหล็ก)
  • จุดเรียนรู้ที่ 7 ประวัติศาสตร์ท่าหินลับมีด
  • จุดเรียนรู้ที่ 8 ฝายแม้ว
  • จุดเรียนรู้ที่ 9 ต้นสมพงษ์ (งุ้น) กับรังผึ้ง
  • จุดเรียนรู้ที่ 10 วังชมพู่ เป็นจุดเรียนรู้สมุนไพร และดูสัตว์น้ำของห้วยหลวง
  • จุดเรียนรู้ที่ 11 ต้นไฮหลวง ซึ่งมีขนาดของลำต้นใหญ่ ประมาณ ให้คน 12 โอบล้อมรอบได้
  • จุดเรียนรู้ที่ 12 นาป๋างไท เป็นจุดสะสมกำลังพลทหารจุไท ในสมัยก่อน และเป็นแหล่งอาหารป่า
  • จุดเรียนรู้ที่ 13 แหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำ

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง : ห้วยหลวง น้ำตกดอยหมอก ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเรือง

การเดินทาง : จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ถึง จ.นครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก และทางหลวงหมายเลข 11 ผ่าน จ.อุตรดิตถ์ และ อ.เด่นชัย จ.แพร่ จากเด่นชัยใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่าน จ.แพร่ ถึง อ.เมือง และเดินทางตามถนนลาดยาง รพช. 3036 สายบ้านเด่นห้วยลี่ และถนน รพช.3038 สายนาซาว – บ้านเรือง ระยะทาง 8 กม. เป็นเส้นทางผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน จะมีป้ายบอกเส้นทางตลอดจนเข้าสู่ชายป่าที่มีถนนเป็นทางลูกรังเส้นทางบอกขึ้น ไปน้ำตกอีก 3 กม.


ชุมชนท่องเที่ยวอื่น ๆ

Booking.com

หน้าแรก | ท่องเที่ยวใน กทม. | ท่องเที่ยวในภาคเหนือ | ท่องเที่ยวในภาคกลาง | ท่องเที่ยวในภาคอีสาน | ท่องเที่ยวในภาคตะวันออก | ท่องเที่ยวในภาคใต้ | ลงโฆษณา | ติดต่อเรา