ที่ตั้ง : บ้านร้องแง มีถนนหมายเลข 1256 ผ่านกลางหมู่บ้าน ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัว ประมาณ 2 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองน่าน ประมาณ 57 กิโลเมตร
พิกัด : 19.175681, 100.935813
จุดเด่น : เป็นชุมชนที่มีเชื้อสายไทลื้อจากมณฑลยูนนาน มีวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตเป็นแบบฉบับของตนเอง เช่น การแต่งกายแบบไทลื้อ การทอผ้าใช้เอง มีภาษาพูดและลักษณะบ้านเรือนแบบไทลื้อ มีแหล่งโบราณสถานที่น่าสนใจ และยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณี และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
สิ่งที่น่าสนใจ
วิหารเก่าไทลื้อวัดร้องแง : เป็นวิหารเก่ารูปทรงไทยลื้อ ก่อตั้งราวปี.พ.ศ. ๒๓๑๐ สภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเก่า วิหารเก่าแห่งหนึ่งของจังหวัดน่าน ปัจจุบันมีการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยยังคงรักษารูปลักษณ์เดิมไว้ เช่น หลังคามุงด้วยแป้นเก็ด หรือกระเบื้องไม้ ภายในวิหารมีของเก่าที่ ควรอนุรักษ์ไว้ เช่นบันไดแก้ว ธรรมมาสน์เทศ ภาพจิตกรรมฝาผนังคล้ายวัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ด้านหลังฉากประธาน เสาในวิหาร มีการวางขื่อแป เชิงช่างรูปแบบ ม้าต่างไหม ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายปริญญา ปานทอง ได้เคยไปร่วมทำบุญกฐินครั่งหนึ่งท่านได้บอกว่าให้ชาวบ้านร้องแงมีความภูมิใจ ที่มีวิหารเก่าแก่ มีคุณค่าควรรักษาไว้เป็นโบราณสถานที่ควรสืบสานอนุรักษ์สักการบูชาสืบไป
หอเจ้าหลวงเทพพญาเลน (เจ้าพ่อพญาริน) ซึ้งมีช้างเผือกงาเขียว เป็นช้างคู่บารมี ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า เจ้าหลวงช้างเผือกงาเขียว ปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้นไว้เป็นที่เคารพสักการบูชา เป็นรูปเจ้าหลวงนั่งบนหลังช้างบนแท่น ฯ ณ หอเจ้าหลวง หรือ ศาลเจ้าหลวง บริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของบ้านร้องแง และ จะมีประเพณี สมโภชน์ หรือ เลี้ยง ป๋าง ปีละ 3 ครั้ง คือป๋าง 4 ในเดือนกุมพาภาพันธ์ ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ป๋าง 6 ในเดือน เมษายนตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ป๋าง 8 ในเดือน มิถุนายน ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8
บ้านไทลื้อ บ้านเรือนแบบไทยลื้อ มีลัษณะเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง หลังคาบ้านทรงปั้นหยาหรือหน้าจั่ว มีทั้งมุงด้วยตับคา แป้นเก็ด มีเตาไฟอยู่ในบริเวณห้องนอน มีห้องสำหรับเก็บเสื้อผ้าเรียกว่าจานร้อง (ชานเล็ก) ห้องนอนใหญ่ มีช่องลมสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 50 x 50 เซนติเมตร เรียกว่าประตูป่อง ใช้สำหรับระบายอากาศ หน้าห้องนอนจะมีห้องโล่งสำหรับรับแขกเรียกว่าหัวคำหรือเติ๋น ชาวไทลื้อใน และนิยมทำยุ้งข้าวติดกับตัวเรือน ใต้ถุนจะมีหูกทอผ้ามีห้างสำหรับนั่งเล่น รั้วบ้านนิยมปลูกต้นไม้
บ่อน้ำผุดอัศจรรย์ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ ที่ บ่อน้ำแห่งนี้มีน้ำผุดไหลออกมาตลอดเวลาไม่แห้ง แม้ในยามฤดูแล้ง สมัยก่อนมีผู้เล่าว่า บ่อน้ำแห่ง นี้เป็นสถานที่อาบน้ำ ซักผ้า แม้ใช้ดื่มกินก็ได้ น้ำใสสะอาดเย็นชื่นใจ ทั้งยังเชื่อกันว่า มีเจ้าที่เจ้า ฐานปกปักรักษาหมู่บ้าน ราษฎรบ้านร้องแงให้ มีความรักสมานสามัคคีกันดุจดั่งความเย็นระรื่น ชื่นใจของน้ำในบ่อน้ำผุดอัศจรรย์แห่งนี้
ชุมชนท่องเที่ยวอื่น ๆ
Booking.com
|