ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว
ป้อนข้อมูลท่องเที่ยว
บ้านถวาย ศูนย์หัตถกรรมแกะสลัก  

ที่อยู่ : บ้านถวาย ต.ขุนคง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230

พิกัด : 18.687813, 98.947735

จุดเด่น : เรื่องฝีมือด้านงานแกะสลักไม้ โดยผู้คนในหมู่บ้านจะยึดอาชีพ เกี่ยวกับงานไม้ มานานกว่า 30-40 ปีแล้ว

บ้านถวาย เป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมแหล่งใหญ่ของเชียงใหม่ ที่มีความ โดดเด่นด้านงานแกะสลักไม้ โดยผู้คนในหมู่บ้านจะยึดอาชีพ เกี่ยวกับงานไม้ มานานกว่า 30-40 ปีแล้ว เรื่องฝีมือนั้นเป็นอันรับประกันได้ สินค้าของที่นี้มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปสลักของสิ่งน่าเคารพต่างๆ เครื่องตกแต่ง บ้านทั้งหลาย เฟอร์นิเจอร์ไม้ต่างๆ หรือไม้แกะสลักรูปสัตว์ ที่คั่นหนังสือ พวงกุญแจ กรอบรูป ฯลฯ ราคาก็แตกต่างกัน และมีทั้งขายปลีก ขายส่ง เรียกว่างานนี้ ได้ของกลับบ้าน

และเป็นที่ตั้งศูนย์หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ เป็นหน้าเป็นตาของอำเภอหางดง ความเป็นมาของบ้านถวาย เริ่มจากช่างแกะสลัก พื้นบ้านของ บ้านถวายไม่กี่คนเข้าไปรับจ้างแกะสลักในตัวเมืองเชียงใหม่ ต่อมาจึงรับ งานแกะสลักมาทำที่บ้านในหมู่บ้านถวาย ถ่ายทอดวิชาการ แกะสลัก ให้รุ่น ลูก

มีการนำผลิตภัณฑ์ไปหาตลาดเพื่อ จำหน่ายในกรุงเทพฯจนต่อมาลูกค้า เดินทางมาซื้อถึงบ้านถวายจนกระทั่งพัฒนาเป็นศูนย์หัตถกรรมบ้านถวายใน ปัจจุบัน ซึ่งเอกลักษณ์ของสินค้าบ้านถวายคือเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือเป็น ภูมิปัญญาของชาวบ้าน ซึ่งสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น และได้รับเกียรติให้เป็นหมู่บ้าน OTOP นำร่องแห่งแรกของประเทศไทย

การเดินทาง : เดิน ทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ให้มาตามเส้นเชียงใหม่-หางดง (หมายเลข 108) ประมาณ กม.15 จะเห็นตลาดหางดงทางขวามือ อีกไม่ไกลจะมีทางสามแยก สังเกตป้ายบอกทางแล้วเลี้ยวเข้าซ้ายไปตามทาง ระยะทางประมาณ 3 กิโลครึ่ง ก็จะถึงบ้านถวาย (สองฝั่งคลอง)

กิจกรรมท่องเที่ยว : นักท่องเที่ยวสามารถ ชมการผลิต และ ซื้อเป็น สินค้าที่ระลึกได้

ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านถวาย บ้านถวาย เป็นหมู่บ้านที่มีประวัติการตั้งหมู่บ้านจากการบอกเล่าสืบต่อกันมายาวนาน หลายชั่วอายุคน ว่า แต่เดิมนั้นมีชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “เผ่าลัวะ” ได้อพยพมาจากจอมทอง มาตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านถวาย แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าได้อพยพมานานเท่าไร ไม่มีหลักฐานอะไรบอกได้นอกจากหลักฐานจากการสร้างวัดถวายเมื่อปี พ.ศ. 2248 (ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่มที่ 9, หน้า 159)

ซึ่งเป็นช่วงที่เมืองเชียงใหม่เป็น อิสระจากการยึดครองของพม่า จึงสันนิษฐานว่าบ้านถวายมีอายุไม่ต่ำกว่า 263 ปี เพราะการสร้างวัดมักเกิดจากความศรัทธาของชาวบ้าน ชุมชน หมู่บ้านจึงเกิดก่อนการมีวัดหรืออย่างน้อยที่สุดก็เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน

ปัจจุบัน สิ่งที่แสดงถึงความเก่าแก่ของบ้านถวายได้แก่ เจดีย์ที่สร้างครอบของเก่า ซุ้มพระพุทธรูปเคียงข้างเจดีย์และพระไตรปิฎกที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497 ชุมชนบ้านถวายในอดีต ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ได้เล่าว่า ครั้งหนึ่งชาวบ้านได้ข่าวว่าพระนางจามเทวีจะเสด็จผ่าน ณ ชุมชนแห่งนี้ เพื่อเสด็จไปสร้างวัดละโว้ชึ่งห่างไปอีกประมาญ 3 กิโลเมตร ชาวบ้านได้นัดแนะกันเพื่อจะถวายสิ่งของแก่พระนางเพื่อแสดงถึงการสักการะบูชา ณ จุดนี้จึงได้ชื่อว่าจุดถวาย และได้เป็นชื่อของหมู่บ้านถวายต่อมาจนปัจจุบัน

ตอนที่ยังเป็นเด็ก มีบ้านเรือนตั้งอยู่กันไม่กี่หลังคาเรือน แต่ละหลังคาเรือนจะมีพื้นที่มาก ส่วนใหญ่ไม่มีรั้วกั้น หากจะมีก็เป็นรั้วไม้ไผ่ที่มีลักษณะไม่คงทนถาวร ทุกครัวเรือนจะปลูกผักผลไม้ไว้ในบริเวณบ้าน และสามารถขอกันกินขอกันใช้โดยไม่ต้องซื้อขาย

พ่อ อุ้ยบอกว่า อาจเป็นเพราะว่า คนสมัยนั้นมีความซื่อสัตย์ เก็บเอาพอกินเท่านั้น ไม่มีการขโมยของกัน หากของเราไม่มีเราก็ไปขอเขาบ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ฉะนั้นจึงอยู่กันแบบพี่แบบน้อง ชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย หน้าฝนก็ทำนาปลูกข้าว หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว บ้างก็ออกไปรับจ้างนอกบ้าน คือที่ในเมืองเชียงใหม่ บ้างก็พักผ่อนอยู่กับบ้าน การคมนาคมลำบากต้องเดินเท้าตลอด ไม่มีรถ จะมีก็เพียงเกวียนเท่านั้น

ถนนเป็นถนนดิน ต่อมาจึงมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากถนนดิน เป็นถนนลูกรังบดอัด ปัจจุบันถนนภายในหมู่บ้านทุกสาย รวมทั้งถนนที่ติดต่อหมู่บ้านใกล้เคียงด้วยเป็นถนนลาดยาง ทำให้ การคมนาคมและชีวิตความเป็นอยู่ด้านอื่นๆ ของชุมชนบ้านถวายแตกต่างจากอดีตอย่างมาก

ความเป็นมาของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP กับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านถวายเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมชาวบ้านประกอบอาชีพหลักทางด้านเกษตรกรรม แต่เมื่อประสบภาวะการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ชาวบ้านมีฐานะยากจน

ดังนั้นหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะออกไปรับจ้างทำงานก่อ สร้างทั่วไปที่ในตัวเมือง และบางส่วนก็ออกไปค้าขายไม่ได้ประกอบอาชีพ อยู่กับถิ่นฐานของตนเอง

จน กระทั่งปี พ.ศ. 2500 - พ.ศ.2505 ได้มีชาวบ้านจำนวน 3 คน คือ พ่อใจมา อิ่นแก้ว พ่อหนานแดง พันธุสา พ่อเฮือน พันธุศาสตร์ ไปรับจ้างทำงานก่อสร้างในเมืองที่ร้านน้อมศิลป์ บ้านวัวลาย ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายไม้แกะสลักที่โด่งดังในช่วงนั้น ทั้งสามคน เกิดความสนใจในการแกะสลักจึงได้เปลี่ยนอาชีพมารับจ้างแกะสลักไม้ดังกล่าว เมื่อเกิดความชำนาญ ทางร้านก็ให้นำงานกลับมาทำที่บ้าน

และเป็นจุดเริ่มต้นการถ่ายทอดงานแกะสลักไม้ให้แก่ลูกหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน โดยไม่หวงความรู้แม้แต่น้อย งานที่นำมาถ่ายทอดครั้งแรกคือการแกะสลักไม้เป็นแผ่นลวดลายต่างๆ เช่น ลายรามเกียรติ์ ครุฑ สิงห์ ตุ๊กตาดนตรี ต่อมาก็ทำตัวพระและรับซ่อมแซมตกแต่งของเก่าประเภทไม้ และเริ่มลอกเลียนแบบของเก่าที่มีผู้นำมาซ่อมแซม พร้อมทั้งออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

จากนั้นก็มีสตรีแม่บ้านของบ้านถวาย ออกไปรับจ้างทำแอนติค ทำสี ตกแต่งลวดลายเดินเส้น (ลายเส้นใช้วัสดุจากปูนขาว สีและชัน) ผสมให้เข้ากันตามส่วน นำมาทำเป็นเส้น เมื่อมีงานเพิ่มมากขึ้นทางร้านก็ให้นำกลับมาทำที่บ้านของตน คิดค่าจ้างเป็นรายชิ้นงานเสร็จก็นำไปส่งคืนให้กับทางร้าน ก็นับว่าเป็นโอกาสได้พบปะกับลูกค้าของทางร้าน

ซึ่งลูกค้าได้ติดต่อขอที่อยู่ไว้และติดต่อเข้ามาซื้อโดยตรงทำให้เกิดธุรกิจ ในหมู่บ้านขึ้น โดยแต่ละบ้านจะปรับบริเวณของตนใช้หน้าบ้านเป็นร้านค้า ส่วนหลังบ้านก็ทำงานหัตถกรรมจนกลายเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลักในครอบ ครัวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 

ชุมชนท่องเที่ยวอื่น ๆ

Booking.com

หน้าแรก | ท่องเที่ยวใน กทม. | ท่องเที่ยวในภาคเหนือ | ท่องเที่ยวในภาคกลาง | ท่องเที่ยวในภาคอีสาน | ท่องเที่ยวในภาคตะวันออก | ท่องเที่ยวในภาคใต้ | ลงโฆษณา | ติดต่อเรา